GAT และ PAT คืออะไร สอบไปทำไม?
- พาร์ทภาษาไทย หรือที่เราเรียกว่าพาร์ทเชื่อมโยง หรือ GAT เชื่อมโยงกัน จะวัดเรื่องความสามารในการอ่านและวิเคราะห์
- พาร์ทภาษาอังกฤษ ก็วัดความสามารถทางภาษาอังกฤษทั่วไปค่ะ
รวมกันสองพาร์ทนี้ 300 คะแนนน้ะค้ะ
- PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
- PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
- PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
- PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
- PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
- PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายภาษา ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน ภาษาอาหรับ และภาษาบาลี
GAT / PAT สำคัญแค่ไหน?
GAT และ PAT ถือว่าเป็นคะแนนที่สำคัญมากทีเดียวเลยล่ะ เพราะใช้ในการสอบเข้ามหาลัย ทั้งในระบบรับตรงและระบบแอดมิชชั่นกลาง ซึ่งในแอดมิชชั่นกลางนั้น GAT PAT รวมกันจะเป็นสัดส่วนถึง 50% เลยค้ะ เรียกว่าถ้าไม่มีคะแนนนี้ก็ไม่ได้แอดมิชชั่น ส่วนอีก 50% ที่เหลือก็เป็นสัดส่วนรวมกันของเกรด(GPAX) ซึ่งจะเป็นเกรดเฉลี่ยรวมตั้งแต่ชั้น ม.4 ถึง ม.6 ค่ะ และคะแนน O-NET ซึ่งเป็นการสอบอีกแบบหนึ่งค้ะ
คณะที่เปิดรับตรงรอบแรก ส่วนใหญ่ก็จะใช้คะแนน GAT/PAT ของการสอบรอบที่ 1 เท่านั้น อย่าคิดว่าจะรอสอบ GAT/PAT รอบ 2 เด่วจะไม่ได้ยื่นคะแนนรับตรงกันนะฮาฟฟ
และที่กล่าวไปว่ารับตรงก็ใช้นั้น บางที่แทบจะใช้เป็นเกณฑ์สำคัญเลยทีเดียว เช่น รับตรงปกติ จุฬาฯ, รับตรง มธ.บางคณะ, รับตรงแม่ฟ้าหลวง เป็นต้น และรับตรงรอบแรกส่วนใหญ่ก็จะใช้ GAT PAT รอบแรกเท่านั้น เพราะรับตรงโครงการนั้นๆ มักจะเสร็จสิ้นก่อนจะสอบ GAT PAT รอบมีนาคม จึงใช้ได้แค่รอบเดียว ดังนั้น เตือน นักเรียน ม.6 น้ะค้ะ ถ้าถึงเวลาสมัครสอบแล้ว ก็อย่าลืมสมัครด้วยนะจะได้ไม่เสียสิทธิ์รับตรงของบางคณะค่ะ
คณะไหนใช้คะแนนอะไรบ้าง?
แต่ละคณะจะใช้สัดส่วนคะแนนต่างกัน จัดเป็นกลุ่มๆได้ตามนี้ค่ะ
กลุ่มที่ 1
คณะสัตวแพทยฯ, คณะสหเวชศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะสาธารณสุขฯ, คณะเทคนิคการแพทย์, คณะวิทยาศาสตร์กีฬา
กลุ่มที่ 2
คณะทันตแพทยศาสตร์
กลุ่มที่ 3
คณะเภสัชศาสตร์
กลุ่มที่ 4
คณะวิทยาศาสตร์, คณะทรัพยากรธรรมชาติ
กลุ่มที่ 5
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มที่ 6
คณะวิศวกรรมศาสตร์
*** รับตรงคณะกลุ่มนี้บางมหาวิทยาลัย กำหนดให้สอบ PAT1 เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ ม.เกษตรศาสตร์
กลุ่มที่ 7
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
กลุ่มที่ 8
คณะเกษตรศาสตร์ , คณะวนศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร
กลุ่มที่ 9
คณะบริหารธุรกิจ , คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี , คณะเศรษฐศาสตร์
*** รับตรงคณะกลุ่มนี้บางมหาวิทยาลัย กำหนดให้สอบ PAT2 เช่น คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ
กลุ่มที่ 10
คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม
รูปแบบที่ 1
รูปแบบที่ 2
กลุ่มที่ 11
คณะครุศาสตร์ , คณะศึกษาศาสตร์
รูปแบบที่ 1
รูปแบบที่ 2
กลุ่มที่ 12
คณะศิลปกรรมศาสตร์ , คณะวิจิตรศิลป์ , คณะดุริยางฯ , คณะศิลปการออกแบบ
กลุ่มที่ 13
คณะนิเทศศาสตร์, คณะอักษรศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์ , คณะนิติศาสตร์ , คณะสังคมวิทยา , คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
รูปแบบที่ 1
รูปแบบที่ 2
รูปแบบที่ 3
ใครสอบได้บ้าง? คะแนนอยู่ได้กี่ปี?
สำหรับการสอบ GAT PAT นั้น นักเรียน ม.6 เด็กซิ่ว และ สายอาชีพ สามารถสอบได้ทั้งหมดค่ะ อายุของคะแนนสอบ GAT PAT อยู่ได้ 2 ปีเลยค่ะ นั่นหมายความว่า ถ้านักเรียน ม.6 ปีนี้ อยากซิ่วในปีหน้า คะแนนของปีนี้ก็ยังใช้ได้ค่ะ แต่ต้องระวังน้ะค้ะ เพราะในรับตรงบางคณะ จะกำหนดไว้ว่าใช้คะแนนรอบไหนได้บ้าง เพราะฉะนั้น ทุกอย่างคือรายละเอียดล้วนๆ ต้องดูให้ถี่ถ้วนเองน้ะคร้าา เดวพลาดแล้วจะแก้ไขไม่ทัน
อันนี้เป็นเพียงแนวทางให้น้องๆ ม.6 เลือกสมัครสอบ GAT/PAT ได้ครบถ้วน ทั้งนี้ในแต่ละมหาวิทยาลัย จะใช้รูปแบบใดบ้าง น้องๆอย่าลืมเช็คจากประกาศรับสมัครของแต่ละมหาวิยาลัยอีกครั้งค่ะ
อย่าลืมน้ะค้ะ อันนี้เป็นเพียงแนวทางให้น้องๆ ม.6 เลือกสมัครสอบ GAT/PAT ได้ครบถ้วน ทั้งนี้ในแต่ละมหาวิทยาลัย จะใช้รูปแบบใดบ้าง น้องๆอย่าลืมเช็คจากประกาศรับสมัครของแต่ละมหาวิยาลัยอีกครั้งค่ะ จะได้ไม่พลาดค่ะ และพยายามสมัครสอบรายวิชา GAT/PAT ให้ครอบคลุมทุกรูปแบบของคณะ/สาขานั้น เพื่อที่จะได้มีองค์ประกอบคะแนนที่ใช้คัดเลือกครบถ้วนค่ะ ซึ่งจะทำให้น้องๆสามารถสมัครสอบโครงการรับตรงเหล่านั้นได้ หรือ สามารถเลือกคณะ/สาขาเหล่านั้นในรอบแอดมิชชันได้ และการติดตามข่าว รับตรงหรือแอดมิชชั่นก็สำคัญน้ะค้ะ เผื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เราจะได้เตรียมตัวรับได้ทันค่ะ
สรุปข้อมูลจาก http://www.dek-d.com/ และ https://www.eduzones.com/